LinuxMint Basic Command – คำสั่ง พื้นฐานใน LinuxMint

ทิปเด็ด กลเม็ด Linux Mint เชิญห้องนี้
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
slwt2002
Administrator
โพสต์: 126
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 24 มิ.ย. 2015 18:03

LinuxMint Basic Command – คำสั่ง พื้นฐานใน LinuxMint

โพสต์ โดย slwt2002 »

LinuxMint Basic Command – คำสั่ง พื้นฐานใน LinuxMint


คำสั่ง ls (list)

แสดงรายชื่อไฟล์ที่อยู่ในไดเรคทอรี่ปัจจุบัน

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ls [OPTION]… [FILES]

ตัวอย่างการใช้งาน

ls ความหมาย : แสดงรายชื่อไฟล์ที่อยู่ในไดเรคทอรี่ปัจจุบัน

ls /home ความหมาย : แสดงรายชื่อไฟล์ที่อยู่ในไดเรคทอรี่home


คำสั่ง man(Manual)

ใช้สำหรับดูวิธีการใช้งาน และรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งต่างๆ

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

man [command name]

ตัวอย่างการใช้งาน

man ls ความหมาย : ดูรายละเอียดวิธีการใช้านของคำสั่ง ls


คำสั่ง pwd

แสดงพาธของไดเรคทอรี่ปัจจุบันที่กำลังเข้าใช้งานอยู่

รูปแบบการใช้งาน


ตัวอย่างการใช้งาน

pwd ความหมาย : แสดงพาธของไดเรคทอรี่ปัจจุบันที่กำลังเข้าใช้งานอยู่


คำสั่ง cd

เปลี่ยนไดเรคทอรี่ไปตามที่ต้องการ

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

cd [directory name]
ตัวอย่างการใช้งาน

man ls ความหมาย : ดูรายละเอียดวิธีการใช้านของคำสั่ง ls

cd / ความหมาย : เป็นการย้ายไปยังไดเรคทอรี่ราก หรือ /

cd .. ความหมาย : เป็นการย้ายไปยังไดเรคทอรี่ก่อนหน้านี้ 1 ขั้น

cd /home/test ความหมาย : เป็นการย้ายไปยังไดเรคทอรี่ test


คำสั่ง mkdir

ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี่ขึ้นมาใหม่ โดยพิมพ์ mkdir แล้วตามด้วยชื่อไดเร็คทอรี่ใหม่ที่เราอยากได้

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

mkdir [OPTION]… DIRECTORY…


ตัวอย่างการใช้งาน

mkdir -p Test1 ความหมาย : -p สร้างไดเร็กทอรีโดยถ้ามีไดเร็กทอรีชื่อนั้นๆอยู่แล้วจะยกเลิกการสร้างโดยอัติโนมัติ

mkdir -v Test1 ความหมาย : -v แสดงข้อความหลังจากสร้างโฟลเดอร์นั้นๆ

คำสั่ง cp

ใช้ในการ copy ไฟล์ไฟล์ที่ได้ออกมาจะมีข้อมูลเหมือนกัน

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

cp [OPTION]… [-T] SOURCE DEST

โค้ด: เลือกทั้งหมด

cp [OPTION]… SOURCE… DIRECTORY

โค้ด: เลือกทั้งหมด

cp [OPTION]… -t DIRECTORY SOURCE…

ตัวอย่างการใช้งาน

cp test.txt /home/user1 ความหมาย : Coppy ไฟล์ test.txt ไปที่ไดเรคทอรี่ user1


คำสั่ง mv

ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเร็คทอรี่หรือเป็นคำสั่งที่ใช้ในการย้ายไฟล์หรือไดเร็คทอรี่ไปไว้ในไดเร็คทอรี่ที่เราต้องการ

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

mv [OPTION]… [-T] SOURCE DEST
mv [OPTION]… SOURCE… DIRECTORY


โค้ด: เลือกทั้งหมด

mv [OPTION]… -t DIRECTORY SOURCE…

ตัวอย่างการใช้งาน

mv *.tar /backup ความหมาย : ย้ายไฟล์ที่มีนามสกุลไฟล์เป็น .tar ไปไว้ในไดเรคทอรี่ backup.shs,f

mv test test1 ความหมาย : เปลี่ยนชื่อไดเรกทอรี่จาก test เป็น test1


คำสั่ง rm

ใช้ในการลบไฟล์หรือไดเรกทอรี่

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

rm [OPTION]… [FILE]…
ตัวอย่างการใช้งาน

rm -f test1.txt ความหมาย : เป็นการลบไฟล์ test1.txt โดยไม่มีการถามยืนยัน


คำสั่ง chmod

คำสั่ง Change Mode ของระบบ Unix,Linux(เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chmod [OPTION]… MODE[,MODE]… FILE…

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chmod [OPTION]… OCTAL-MODE FILE…

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chmod [OPTION]… –reference=RFILE FILE…

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chmod  [OPTION]… [Permission]… [Path]

คำสั่ง chmod มีการใช้งานอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ การเปลี่ยนสิทธิ์ไฟล์แบบสัมบูรณ์ (Absolute mode) และการเปลี่ยนสิทธิ์ด้วย symbolic mode

การเปลี่ยนสิทธิ์ไฟล์แบบสัมบูรณ์ (Absolute mode)

เป็การกำหนดสิทธิ์ด้วยตัวเลข (4 2 1) ในหนึ่งไฟล์จะมีค่าของสิทธิ์อยู่ 9 ค่า เช่น rwxr–r– (744) หมายถึง เจ้าของไฟล์สามารถอ่าน-เขียน-สั่งรันไฟล์นี้ได้ แต่ยูสเซอร์ในกลุ่มอื่น สามารถอ่านได้เท่านั้น จะเห็นว่า Owner มี rwx ครบหมดและตัวเลขแทน rwx รวมกันได้ 7 ส่วน Group rwx รวมกันได้ 4 คือมีแต่ r เท่านั้นและตัวอื่นที่ไม่มีแทนด้วย -

r = read

w = write

x = execute

รูปภาพ

ตัวอย่างการใช้งาน

chmod -R 777 /sources เปลี่ยนสิทธิ์การใช้ ให้ทำได้ทุกอย่าง -R ความหมายคือจำทำการเปลี่ยนสิทธิของไฟล์ -ไดเรคทอรี่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ไดเรคทอรี่นั้นด้วย

การเปลี่ยนสิทธิ์ด้วย Symbolic mode

เป็นการกำหนดสิทธิ์ไฟลด้วยสัญลักษณ์ และเป็นการใช้อักษรกำหนดสิทธิ์ โดยจะมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มยูชเซอร์ ตัวการกระทำ และสิทธิ์ ดังรูป

รูปภาพ

ตัวอย่างการใช้งาน

chmod a+w /home/test.txt ความหมาย : เพิ่มสิทธิ์ในการเขียนไฟล์ให้ทุกกลุ่ม

chmod og+rw /home/test.txt ความหมาย : เพิ่มสิทธิ์ในการอ่านและเขียนไฟล์ให้กับกลุ่มอื่นกับกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของไฟล์


คำสั่ง chown

คำสั่ง Change Owner ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chown [OPTION]… [OWNER][:[GROUP]] FILE…

โค้ด: เลือกทั้งหมด

chown [OPTION]… –reference=RFILE FILE…

ตัวอย่างการใช้งาน

chown -R test /home/test1 เปลี่ยนเจ้าของไฟล์จาก root ของไดเรคทอรี่ test1 เป็น ยูชเซอร์ test แทน


คำสั่ง grep

เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

grep [OPTION] pattern [FILE...]

ตัวอย่างการใช้งาน

grep -i /host/test.txt ความหมาย: ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า “ftp”OPTION -i คือ ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่จากไฟล์ test.txt


คำสั่ง history


เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งใน Command line คล้ายกับการกด F7 ในDOS คือเรียกใช้คำสั่ง Dos key

รูปแบบการใช้งาน

history [n] [-r wan [filename] ]

ตัวอย่างการใช้งาน

history 20 ควาหมาย : ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว


คำสั่ง ps

เป็นคำสั่งที่ใช้ดูสถานะของโปรเซสที่กำลังทำงานอยู่ในระบบ

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ps [OPTION]…[PROCESS ID]

ตัวอย่างการใช้งาน

ps ความหมาย : ดูสถานะของโปรเซสที่กำลังทำงานอยู่ในระบบ


คำสั่ง kill

เป็นคำสั่งเพื่อหยุดการทำงาน process ที่กำลังทำงานอยู่

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

kill [process id]

ตัวอย่างการใช้งาน

kill 5555 ความหมาย : หยุดการใช้งาน process ที่มี ID = 5555


คำสั่ง more


คำสั่ง more เป็นหนึ่งในคำสั่งของตระกูล Linux ที่ถูกเรียกว่า pager ซึ่ง คำสั่ง pager จะช่วยให้เราทำการ browse ไปยังไฟล์นั้น ๆ เพื่ออ่านเนื้อหาไฟล์นั้นออกมา 1 หน้าจอต่อ 1 ครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอ่านไฟล์ที่มีเนื้อหาจำนวนมาก (หลายบรรทัด) โดยใช้คำสั่งดังนี้ ใช้ปุ่มขึ้นลง spacebar ในการเลื่อนดู แล้ว q ออกจากคำสั่ง

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

more [-dlfpcsu] [-num] [+pattern] [+linenum] [file...]

ตัวอย่างการใช้งาน

more test.txt ความหมาย : ดูรายละเอียดไฟล์ test.txt


คำสั่ง sort

จัดเรียงข้อมูลในไฟล์ ถ้าในไฟล์มีข้อมูลเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ก็จะเรียงจาก a-z, 0-9

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

sort [option] ….. [files....]

ตัวอย่างการใช้งาน

sort test1.text

ข้อมูลในไฟล์ test1.txt ก่อนใช้คำสั้ง sort

4

2

ข้อมูลในไฟล์ test1.txt หลังใช้คำสั้ง sort

2

4


คำสั่ง (Redirection)


เปลี่ยนทิศทางของผลลัพธ์

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

[......] >,>>,< [......]
เครื่องหมาย > เปลี่ยนทิศทางของ Output (ลบไฟล์เก่าทิ้ง)

เครื่องหมาย >> เป็นการเปลี่ยนทิศทางของ output (โดยไม่ลบไฟล์เก่าทิ้ง)

เครื่องหมาย < เปลี่ยนทิศทางของ input

ตัวอย่างการใช้งาน

man ls > test.txt ความหมาย : ส่งรายละเอียดการใช้งานของคำสั่ง ls จากคำสั่ง man ไปที่ไฟล์ test.txt

sort < test.txt ความหมาย : จัดเรียงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์


คำสั่ง pipe(|)

เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง input กับ output โดย output ของคำสั่งหนึ่ง จะเป็น input ของอีกคำสั่งหนึ่ง จะใช้สัญลักษ์เป็น | (Vertical Bar)

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

[......] | [.......]
ตัวอย่างการใช้งาน

man ls | more ความหมายส่ง : outputของคำสั่ง man ls ไป แสดงที่ คำสั่ง more


คำสั่ง cat

เป็นคำสั่งในการเรียกดูเนื้อหา หรือข้อความจากไฟล์

รูปแบบการใช้งาน

โค้ด: เลือกทั้งหมด

cat [option]… [file]
ตัวอย่างการใช้งาน

cat test.txt ความหมาย : ดูเนื้อหาในไฟล์ test.txt
ไม่มีลายเซ็นต์ ขอเขียนแล้วกัน
ตอบกลับ